เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 10.00-20.00 | วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
เวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 10.00-20.00
วันเสาร์ - วันอาทิตย์ 10.00-20.00
จิตเวชทั่วไป

จิตเวชทั่วไป
General psychiatry

จิตเวชทั่วไปครอบคลุมทุกภาวะทางจิตใจ ของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ขึ้นไป จนถึงอายุ 65 ปี สัญญาณเตือนโดยทั่วไปที่บ่งบอกว่าท่านอาจมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต เช่น อารมณ์แปรปรวน เครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ และอาการดังกล่าวเริ่มส่งผลกระทบต่อความสุขในชีวิตหรือส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้านใดด้านหนึ่ง การรักษามีทั้งการใช้ยาช่วยปรับอารมณ์ ยาต้านซึมเศร้า ลดอาการวิตกกังวล และการให้คำปรึกษา หรือการทำจิตบำบัดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่

อาการหรือโรคที่อยู่ในกลุ่มจิตเวชทั่วไปมีดังนี้
ปัญหาอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มจิตเวชทั่วไป มีดังนี้
  • ปัญหาครอบครัว (family problems)
  • ปัญหาชีวิตคู่ (Marital problems)
  • ปัญหาด้านความรัก (relationship problem)
  • ปัญหาในการจัดการอารมณ์
  • ปัญหาในการเข้าสังคม
  • ปัญหาในที่ทำงาน

การรักษาโดยการให้คำปรึกษาและจิตบำบัด
Counseling   Psychotherapy

การให้คำปรึกษา หรือการทำจิตบำบัด ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความเข้าใจความเครียดหรือปัญหาของที่เกิดขึ้น เข้าใจตัวเองว่ากำลังคิดอย่างไร รู้สึกอย่างไร เพราะอะไรตนเองจึงรู้สึกเช่นนั้น เหมือนกับการค่อยๆ คลี่คลายปมที่อยู่ในใจออกมาที่ละปม บ้างคนอาจมีปมในอดีตที่อาจลืมไปแล้ว แต่ยังฝังลึกอยู่ในจิตใจหรือจิตใต้สำนึก ทำให้ยังรู้สึกทุกข์หรือใช้ชีวิตอย่างไม่มีความสุขอยู่เรื่อย ๆ โดยที่ตนเองก็ไม่รู้ต้นเหตุ การเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง ไม่ติดอยู่กับปมในอดีต จะช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และพึงพอใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น จัดการชีวิต แก้ปัญหา และตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆได้ดีขึ้น

รูปแบบในการทำจิตบำบัด มีหลายเทคนิค หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีความเครียดอย่างไร บุคลิกเป็นอย่างไร เหมาะกับการทำจิตบำบัดแบบไหน หากท่านมีความสนใจท่านสามารถนัดทำจิตบำบัดหรือปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาได้ โดยทั่วไปการปรึกษาแต่ละครั้งจะใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที

การรักษาโดยการให้คำปรึกษาและจิตบำบัด
ตัวอย่างการทำจิตบำบัดแบบต่างๆ มีดังนี้
  • จิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)
  • จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Psychotherapy)
  • การบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy)
  • การบำบัดเพื่อภาวะผ่อนคลาย (Relaxation Therapy)
  • การบำบัดด้วยการแก้ปัญหา (Problem Solving Therapy)
  • การบำบัดด้วยการปรับพฤติกรรม (Behavioral Therapy)
  • การฝึกทักษะทางสังคม (Social skill training) ทักษะการสื่อสาร (Communication skill training)
  • การบำบัดชีวิตคู่ (Couples therapy)
ปัญหาที่พบบ่อย และเหมาะสมกับการทำจิตบำบัด
  • ปัญหาครอบครัว (family problems)
  • ปัญหาชีวิตคู่ (Marital problems)
  • ปัญหาด้านความรัก (relationship problem)
  • ปัญหาในการจัดการอารมณ์
  • ปัญหาในการเข้าสังคม
  • ปัญหาในที่ทำงาน
  • ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
จิตเวชการเสพติด

จิตเวชการเสพติด
Substance and behavioral addiction

ปัญหาด้านการเสพติด มีทั้งการติดสารเสพติด และ พฤติกรรมเสพติด และปัญหาการเสพติดมักจะส่งผลทำให้เกิดโรคทางจิตเวชอื่นๆอีกด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้า อารมณ์สองขั้วหรือไบโพล่า อาการทางจิต หูแว่วประสาทหลอน หากได้รับการรักษาการเลิกสารเสพติดจะง่ายขึ้น และมีโอกาสสำเร็จสูงกว่าเลิกด้วยตัวเอง ส่วนปัญหาพฤติกรรมเสพติดที่พบบ่อย เช่น ติดการพนัน ปัญหาการเสพติดพบได้ทั้งในวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่

การสังเกตปัญหายาเสพติดตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และเริ่มปรึกษาตั้งแต่ยังไม่เกิดอาการรุนแรงจะช่วยให้เลิกสารเสพติดได้ง่ายกว่าและป้องกันไม่ได้เกิดอาการทางจิตเวชตามมา

ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดมีดังนี้
  • ติดเหล้า ติดสุรา ติดแอลกอฮอล์ (alcohol use disorder, alcoholism)
  • ติดบุหรี่ ติดบุหรี่ไฟฟ้า ติดนิโคติน
  • ติดสารกระตุ้น เช่น ยาบ้า ยาไอซ์ โคเคน ยาอี น้ำกระท่อม ใบกระท่อม
  • ติดสารกดประสาท กล่อมประสาท เช่น เฮโรอีน ฝิ่น
  • ติดสารหลอนประสาท เช่น ติดกัญชา
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเสพติดมีดังนี้
  • โรคเสพติดเซ็กซ์ เสพติดการมีเพศสัมพันธ์ (sex addiction)
  • ติดเกมส์ ติด social media (internet gaming disorder)